เมนู

ทำให้สบายมีผิวดี เป็นผู้ไม่ควรค่อนขอดเป็นต้นเลย และเป็นผู้มีอานุภาพ
ปรากฏในเพราะกรรมแห่งอาจารย์ของตน ย่อมประสบสักการะฉะนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสความเกิดขึ้น และความเกิดขึ้นแห่ง
ธรรมเป็นที่ตั้งของอาสวะ อกาลและกาลแห่งอันบัญญัติสิกขาบทอย่างนี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อแสดงกาลยังไม่เกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านั้นแล
จึงตรัสคำว่า น ตาว สารปุตฺต อิเธกจฺเจ เป็นต้น. ในคำว่า ตาว
เป็นต้นนั้น บททั้งหลายที่มีอรรถตื้น พึงทราบด้วยอำนาจพระบาลีนั่นแล.
ส่วยการพรรณนาบทที่ไม่ตื้นดังต่อไปนี้ :-

[อธิบายเหตุที่ให้ทรงบัญญัติสิกขาบท]


ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า รัตตัญญู เพราะอรรถว่า รู้ราตรีนาน คือ
รู้ราตรีเป็นอันมากตั้งแต่วันที่ตนบวชมา, มีอธิบายว่า บวชมานาน. ความ
เป็นหมู่ด้วยพวกภิกษุผู้รู้ราตรีนาน ชื่อว่า รัตตัญญุมหัตตะ. อธิบายว่า
ความเป็นหมู่ใหญ่ด้วยพวกภิกษุผู้บวชมานาน.
*บัณฑิตพึงทราบว่า สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภ
พระอุปเสนวังคันตบุตรบัญญัติ เพราะสงฆ์ถึงความเป็นหมู่ใหญ่ด้วยภิกษุผู้รู้
ราตรีนาน ในบรรดาความเป็นหมู่ใหญ่เหล่านั้น, จริงอยู่ ท่านผู้มีอายุนั้น
ได้เห็นภิกษุทั้งหลาย ผู้มีพรรษาหย่อนสิบให้อุปสมบทอยู่ ตนมีพรรษาเดียว
จึงให้สัทธิวิหาริกอุปสมบทบ้าง. ครั้งนั้นแล พระผู้พระภาคเจ้าทรงบัญญัติ
สิขาบทว่า ภิกษุทั้งหลาย ! กุลบุตรอันภิกษุผู้มีพรรษาหย่อนสิบ ไม่พึงให้
อุปสมบท, ภิกษุใดพึงให้อุปสมบท ปรับอาบัติทุกกฎแก่ภิกษุนั้น1 เมื่อสิกขาบท
* องค์การศึกษาแผนกบาลีแปลออกสอบสนามหลวง พ.ศ. 2482-85
1 วิ. มหา. 4 / 109.

อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วอย่างนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้โง่เขลา ไม่
ฉลาด คิดว่า เราได้สิบพรรษา เรามีพรรษาครบสิบ จึงให้อุปสมบทอีก.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงบัญญัติสิกขาบทแม้ซ้ำอีกครั้งหนึ่งว่า
ภิกษุทั้งหลาย ! กุลบุตรอันภิกษุผู้มีพรรษาครบสิบ แต่เป็นผู้โง่ ไม่ฉลาด
ไม่พึ่งให้อุปสมบท ภิกษุใดพึงให้อุปสมบท ปรับอาบัติทุกกฏ แก่ภิกษุนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ฉลาด สามารถมีพรรษาสิบหรือเกินกว่า
สิบ ให้อุปสมบทได้*. ในการที่สงฆ์ถึงความเป็นหมู่ใหญ่ด้วยภิกษุผู้รู้ราตรีนาน
ได้ทรงบัญญัติสองสิกขาบท
บทว่า เวปุลฺลมหตฺตํ มีความว่า ความเป็นหมู่ใหญ่ด้วยความเป็น
หมู่แพร่หลาย จริงอยู่ สงฆ์ยังไม่ถึงความเป็นหมู่ใหญ่ด้วยความเป็นหมู่
แพร่หลาย ด้วยอำนาจภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระเถระ ผู้ใหญ่และผู้ปานกลาง
เพียงใด เสนาสนะย่อมเพียงพอกัน อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า ก็ยังไม่เกิด
ขึ้นในศาสนาเพียงนั้น แต่เมื่อสงฆ์ถึงความเป็นผู้ใหญ่ ด้วยความเป็นหมู่
แพร่หลายแล้ว อาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้น. ทีนั้นพระศาสดาย่อม
ทรงบัญญัติสิกขาบท. สิกขาบทที่ทรงบัญญัติในเพราะสงฆ์ถึงความเป็นหมู่ใหญ่
ด้วยความเป็นหมู่แพร่หลาย ในบรรดาความเป็นหมู่ใหญ่เหล่านั้น บัณฑิตพึง
ทราบตามนัยนี้ว่า อนึ่ง ภิกษุใด พึงสำเร็จการนอนร่วมกันกับอนุปสัมบัน
เกินสองสามคืน ภิกษุนั้นต้องปาจิตตีย์. อนึ่ง ภิกษุณีใด พึงให้นางสิกขมานา
อุปสมบทตามปี นางภิกษุณีนั้น ต้องปาจิตตีย์. อนึ่ง นางภิกษุณีใด พึงให้
นางสิกขมานาอุปสมบทปีละ 2 รูป นางภิกษุณีนั้น ต้องปาจิตตีย์
* วิ. มหา 4/110

บทว่า ลาภคฺคมหตฺตํ มีความว่า ความเป็นใหญ่เป็นยอดแห่งลาภ
อธิบายว่า ความเป็นใหญ่ใด เป็นยอด คือสูงสุดแห่งลาภ สงฆ์เป็นผู้ถึงความ
เป็นใหญ่นั้น อีกอย่างหนึ่ง ถึงความเป็นใหญ่ เลิศด้วยลาภก็ได้ อธิบายว่า
ถึงความเป็นหมู่ประเสริฐ และความเป็นหมู่ใหญ่ด้วยลาภ จริงอยู่ สงฆ์ยัง
ไม่ถึงความเป็นหมู่ใหญ่เลิศด้วยลาภเพียงใด อาสวัฏฐานิยธรรมอาศัยลาภ ก็ยัง
ไม่เกิดขึ้นเพียงนั้น แต่เมื่อถึงแล้ว ย่อมเกิดขึ้น. ทีนั้น พระศาสดาย่อมทรง
บัญญัติสิกขาบทว่า อนึ่ง ภิกษุใด พึงให้ของควรเคี้ยว หรือของควรบริโภค
ด้วยมือของตนแก่อเจลกก็ดี แก่ปริพาชกก็ดี แก่ปริพาชิกาก็ดี ภิกษุนั้นต้อง
ปาจิตตีย์. จริงอยู่ สิกขาบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบัญญัติเพราะสงฆ์
ถึงความเป็นหมู่ใหญ่เลิศด้วยลาภ.
บทว่า พาหุสจฺจมหตฺตํ มีความว่า ความที่พาหุสัจจะเป็นคุณใหญ่
จริงอยู่ สงฆ์ยังไม่ถึงความที่พาหุสัจจะเป็นคุณใหญ่เพียงใด อาสวัฏฐานิยธรรม
ก็ยังไม่เกิดขึ้นเพียงนั้น. แต่เมื่อถึงความที่พาหุสัจจะเป็นใหญ่แล้วย่อมเกิด
ขึ้น เพราะเหตุว่า บุคคลทั้งหลายเรียนพุทธวจนะนิกายหนึ่งบ้าง สองนิกาย
บ้าง ฯลฯ ห้านิกายบ้างแล้ว เมื่อใคร่ครวญโดยไม่แยบคาย เทียบเคียงรส
ด้วยรสแล้ว ย่อมแสดงสัตถุศาสนานอกธรรมนอกวินัย. ทีนั้น พระศาสดา
ย่อมทรงบัญญัติสิกขาบท โดยนัยเป็นต้นว่า อนึ่ง ภิกษุใด พึงกล่าวอย่างนี้ว่า
ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วอย่างนั้น ฯลฯ ถ้าแม้น
สมณุทเทศพึงกล่าวอย่างนี้ไซร้. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงกาลไม่
เกิดและกาลเกิดขึ้นแห่งธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะอย่างนี้แล้ว เมื่อ
จะทรงแสดงความไม่มีแห่งอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้น แม้โดยประการทั้งปวง
ในสมัยนั้น จึงตรัสคำมีว่า นิรพฺพุโท หิ สารีปุตฺต เป็นต้น.

[อรรถาธิบาย คำว่า นิรพฺพุทโท เป็นต้น]


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิรพฺพุโท คือเว้นจากเสนียด. พวกโจร
ท่านเรียกว่า เสนียด. อธิบายว่า หมดโจร. ก็ในอรรถนี้ พวกภิกษุผู้ทุศีล
ท่านประสงค์เอาว่า เป็นโจร. จริงอยู่ ภิกษุผู้ทุศีลเหล่านั้น ย่อมลักปัจจัย
ของคนเหล่าอื่น เพราะเป็นผู้มิใช่สมณะ แต่มีความสำคัญว่าเป็นสมณะ เพราะ
เหตุนั้น ภิกษุสงฆ์ไม่มีเสนียด ไม่มีโจร มีอธิบายว่า ไม่มีคนทุศีล. บทว่า
นิราทีนโว ได้แก่ ไม่มีอุปัทวะ คือไม่มีอุปสรรค. มีคำอธิบายว่า เว้นจาก
โทษของผู้ทุศีลทีเดียว. ผู้ทุศีลแล ท่านเรียกว่า คนดำ ในคำว่า อปคตกาฬโก
นี้. จริงอยู่ ผู้ทุศีลเหล่านั้น แม้เป็นผู้มีวรรณะดุจทองคำ พึงทราบว่า เป็น
คนดำทีเดียว เพราะประกอบด้วยธรรมดำ. เพราะไม่มีคนมีธรรมดำเหล่านั้น
จึงชื่อว่า อปคตกาฬก. ปาฐะว่า อปหตกาฬก ก็มี. บทว่า สุทฺโธ คือ
ชื่อว่าบริสุทธิ์ เพราะมีคนดำปราศไปแล้วนั่นเอง. บทว่า ปริโยทาโต คือ
ผุดผ่อง. คุณคือศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ ท่านเรียกว่า
สาระ ในคำว่า สาเร ปติฏฺฐิโต นี้. เพราะตั้งอยู่แล้วในสาระนั้น จึงชื่อว่า
ตั้งอยู่ในสารคุณ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสความที่ภิกษุสงฆ์ตั้งอยู่ใน
สารคุณอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงอีกว่า ก็ความที่ภิกษุสงฆ์นั้นตั้งอยู่ใน
สารคุณนั้น พึงทราบอย่างนี้ จึงตรัสคำมีอาทิว่า อิเมสํ หิ สารีปุตฺต.
ในคำนั้น มีการพรรณนาโดยสังเขปดังต่อไปนี้ :-
บรรดาภิกษุ 500 รูปนี้ ผู้เข้าพรรษา ณ เมืองเวรัญชา ภิกษุที่
ต่ำต้อยด้วยอำนาจคุณ คือมีคุณต่ำกว่าภิกษุทุกรูป ก็เป็นพระโสดาบัน คำว่า
โสตาปนฺโน คือ ผู้ตกถึงกระแส. ก็คำว่า โสโต นี้ เป็นชื่อของมรรค.
คำว่า โสตาปนฺโน เป็นชื่อของบุคคลผู้ประกอบด้วยมรรคนั้น. เหมือนอย่าง